หน้าที่และอำนาจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตามคำสั่งที่ 19/2560

๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทํางานรวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอํานาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) จัดทําแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ
(๓) สั่งการ กํากับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

(๔) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ

(๖) ดําเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

(๘) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

(๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา
(๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน
(๑๑) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่างๆในจังหวัด

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด โดยเรียกว่า กศจ.

  1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
  2. กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
  3. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา
  4. พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  5. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
  6. กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  7. วางแผนการจัดการศึกษาและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
  8. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
  9. แต่งตั้งอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา โดยนำองค์ประกอบ อกศจ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย

ให้มีคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ.  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศจ. ประกอบด้วย

  1. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. เป็นประธานอนุกรรมการ
  2. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. จํานวนสองคน เปนอน ็ ุกรรมการ
  3. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อํานวยการสถานศึกษา ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง จํานวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
  5. ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

ให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ. อกศจ. รวมทั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางาน

เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ
การบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ
ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่ตกมาอยู่ในอำนาจ กศจ.

มาตรา 36 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

1)      กำกับ ดูแล  จัดตั้ง  ยุบ  รวม  หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา 

 - กำกับ ดูแล สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 - จัดตั้ง ยุบรวม เลิกล้มสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

2)  ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

3)  ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

4) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา

5)      หน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด เช่น

-  ม. 34 วรรคสาม ของพรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 ให้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-  ม. 39 (4) ของ พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 รับทราบรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา

-  ม.45 (6) ของ พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 ออกระเบียบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบอำนาจให้ข้าราชการอื่นในสถานศึกษา

- ข้อ3 ของกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547 พิจารณาอนุญาตให้ครอบครัวจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้บุคคลในครอบครัว

-  ข้อ 4 กฏกระทรวงการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-   ข้อ 9 ของกฏกระทรวงเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ สพท.ออกประกาศให้สถานศึกษาใดเป็นสถานศึกษาที่มีสภาพและลักษณะการปฏิบัติงานที่แตกต่างจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป

-  ข้อ 7(4) ของกฎกระทรวงเกี่ยวกบคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลและนิเทศฯเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาและลงมติให้คณะกรรมการฯพ้นจากตำแหน่งกรณีมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่

-  มาตรา5 ของ พรบ.การศึกษาภาคบังคับ  ให้ประกาศรายละเอียดการส่งเด้กเข้าเรียน และจัดสรรโอกาสการเข้าเรียน มาตรา7 รับรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เด้กเข้าเรียน

-  มาตรา 12 ของ พรบ.การศึกษาภาคบังคับ  จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กบกพร่องฯ  เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กสามารถพิเศษ รวามทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นฯให้กับเด็กดังกล่าวด้วย

-  ข้อ5 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใน สพท. ให้ความเห็นชอบแบ่งส่วนราชการใน สพท.เป็นกลุ่มงานต่างๆ  เป็นต้น